ภาพดาวพุธที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
นักดาราศาสตร์อาศัยเทคนิคใหม่
ในการบันทึกภาพดาวพุธบริเวณที่
เราไม่เคยเห็นมาก่อนได้เป็นครั้งแรก
การบันทึกภาพความละเอียดสูง
ของดาวพุธเป็นเรื่องลำบาก
เพราะดาวพุธมีขนาดเล็ก
และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก
แม้แต่กล้องฮับเบิลเอง
ก็ไม่สามารถถ่ายภาพดาวพุธได้อย่างสมบูรณ์
เพื่อแก้ปัญหานี้
นักดาราศาสตร์จาก
มหาวิทยาลัยบอสตันทำการถ่ายภาพ
ดาวพุธทุกๆ 1/60 วินาที
ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 90
นาทีทันทีที่
พระอาทิตย์ขึ้นในวันที่
29 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ด้วยกล้องถ่ายภาพซีซีดีที่ติดอยู่กับ
กล้องโทรทรรศน์ขนาด 1.52
เมตร
บนยอดเขาวิลสันในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ซึ่งทำให้ได้ภาพออกมาถึง
34,000 ภาพ ในระดับคุณภาพต่างๆ
กัน
พวกเขาเลือกเอาภาพที่ดีที่สุดมาจำนวนหนึ่ง
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพดาวพุธทั้งหมดออกมา
ภาพที่ได้แสดงให้เห็นถึงเสี้ยวของดาวพุธ
จุดมืดจุดสว่างจำนวนหนึ่งที่แสดงถึง
หลุมอุกกาบาต ภูเขา และลักษณะภูมิประเทศอื่นๆ
แต่ก็ยังไม่ละเอียดพอจะเข้าใจทั้งหมด
ถึงกระนั้นก็ยังมีประโยชน์ต่อนักดาราศาสตร์มาก
เพราะเป็นการแสดงให้เห็นพื้นที่
ที่เรายังไม่เคยเห็นมาก่อนเนื่องจากเคยมียานอวกาศไปเยือนดาวพุธเพียงลำเดียวเท่านั้น
คือ มาริเนอร์ 10
โดยเก็บภาพมาเพียงซีกเดียวของดาวพุธเท่านั้น
หลังจากนั้น
นักดาราศาสตร์ก็พยายามปะติดปะต่อส่วนที่หายโดยใช้การสังเกตด้วยเรดาร์
และข้อมูลจากการบันทึกภาพล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่า
จุดมืดและสว่างในภาพของพวกเขา
ไม่สอดคล้องกับจุดมืดและสว่างที่ได้จากเรดาร์
หรือแม้แต่การคาดการณ์ถึงภูเขาไฟ
ในซีกดาวเหนือที่สังเกตจากเรดาร์ก็ไม่มีข้อมูลสนับสนุนในภาพใหม่แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม
นาซาและองค์การอวกาศยุโรปมีแผนจะส่งยานอวกาศ
ไปสำรวจดาวพุธอีกในอนาคตอันใกล้นี้
กลับหน้าแรก